วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แคนา



ชื่อ : แคนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dolichandrone rpathacea Schum
ชื่อวงศ์ : Bignoniaceae
ลักษณะ : พืชใบเลี้ยงคู่ ไม้ต้น เปลือกสีน้ำตาลใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้าม 3-5 คู่ มีใบที่ยอด 1 ใบ ดอก ช่อแบบช่อกระจะ (raceme) บานตอนกลางคืน กลีบดอกติดกันเป็นท่อ ปลายขยายออกเป็นรูประฆัง แยกเป็น 5 แฉก ขอบกลีบย่น ดอกสีขาวผลเป็นฝัก ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรุปไข่ ลำต้นเปลาตรงมักแตกกิ่งตำ เปลือกสีนำตาลอมเทาเรียบ
ดอก:  สีขาว ออกเป็นช่อแบบกะจะสั้นตามปลายกิ่งช่อยาว 2-3 ซม.  มี 3-7  ดอก  กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันและปลายแยกออกเป็นรุปกาบรองดอก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นรุปแจกันสูง ดกบานกลางคืน  ดอกออก ก.พ - มิ.ย
ผล:  เป็นฝักแห้งแตกแบย ทรงขอบขนาน ยาว ผิวเรียบและแข็ง ฝักบิดไปมา ผลออก มิ.ย - ส.ค
ประโยชน์ : ดอกหรือกลีบดอกบานของแคนาสามารถนำมาใช้ประกอบอาหาร ใช้ลวก หรือต้มจิ้มรับประทานกับน้ำพริก หรือแกงส้มได้
บ้างก็ว่ารมขมนิดๆ ของดอกแคนาจะช่วยทำให้รับปะทานอาหารอร่อยยิ่งขึ้น
ต้นแคนาเป็นต้นไม้ทรงพุ่ม ใบและฝักแลดูสวยงาม เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้สำหรับให้ร่มเงาและเป็นไม้ประดับเสริมจุดเด่นให้สวนที่ปลูกได้
ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย (ข้อมูลไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนไหน แต่เข้าใจว่าเป็นดอก)

เนื้อไม้ของต้นแคนาสามารถนำมาใช้ทำสิ่งก่อสร้างอาหารบ้านเรือนได้ เช่น ทำเป็นเสา ไม้กระดาน ฝาเพด้าน พื้น ฯลฯ



มะม่วงหาวมะนาวโห่



ชื่อ : มะม่วงหาวมะนาวโห่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carissa carandas L.
ชื่อวงศ์ : Apocynaceae
ชื่อเรียกอื่น : มะนาวโห่, หนามแดง, หนามขี้แฮด
ลักษณะ : เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดย่อม สูง 2-3 เมตร ตามกิ่งก้านมีหนามค่อนข้างยาวและแหลม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่รี ปลายและโคนมน ขอบเรียบ ดอกมีขนาดเล็กมีสีขาวเป็นช่อ หอมกลีบดอกเป็นรูปหอก ผลขนาดเท่าหัวแม่มือ เป็นพวงสีแดงสดแก่สีดำรับประทานได้
ประโยชน์ :
- ผลสุกสามารถนำมารับประทานเป็นผลไม้
- สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านมะเร็งและชะลอความแก่
- มีประโยชน์ช่วยให้ร่างกายสดชื่นและกระชุ่มกระชวย
- ผลของมะม่วงหาวมะนาวโห่มีธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงเลือด
- ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคถุงลมโป่งพอง
- ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคตับ
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์และไทรอยด์
- ช่วยบรรเทาอาการมือเท้าชา
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
- ผลของมะม่วงหาวมะนาวโห่มีประโยชน์ช่วยลดอาการไอ
- มีส่วนช่วยลดอาการภูมิแพ้
- ผลสุกมีวิตามินซีสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน
- ผลมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
- สามารถช่วยฆ่าเชื้อและสมานแผล

- ช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายและข้อ

มะฮอกกานี



ชื่อ : มะฮอกกานี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Swietenia macrophylla  King
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ลักษณะ : เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  สูง 15 - 25 เมตร  ผลัดใบ  เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกระบอก  ทรงพุ่มทึบ  ลำต้นเปลาตรง  เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลืองหรือแดงเข้ม  เนื้อละเอียดเหนียว  ลวดลายสวยงาม  เมื่อแห้งจะมีแถบแววสีทองขวางเส้นไม้  เนื้อไม้แข็ง  มีคุณภาพดี  สามารถใสกบและตกแต่งได้ง่าย  ยึดตะปูได้ดี  คุณภาพใกล้เคียงกับไม้สัก  ทนทานต่อการเข้าทำลายของปลวก  เมล็ดรสขมมาก                                           
      เปลือก สีน้ำตาลอมเทา  หนาขรุขระ  แตกเป็นร่องตามทางยาวของลำต้น  และหลุดลอกออกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ
     ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก  ออกเวียนสลับ  มีใบย่อย 3 - 4 คู่ ออกตรงกันข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย  รูปไข่หรือรูปรี  กว้าง 5 - 6 เซนติเมตร  ยาว 11 - 17 เซนติเมตร  ปลายใบเรียวแหลม  โคนใบมนเบี้ยว  ขอบใบเรียบแผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันคล้ายแผ่นหนัง  ก้านใบย่อยยาว 0.3 - 0.5 เซนติเมตร
       ดอก   สีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแกมเขียว  ขนาดเล็ก   กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง  กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 5 กลีบ  กลีบดอก 5 กลีบ  เมื่อบานเต็มที่กว้าง 0.5 - 1.0 เซนติเมตร  มีเกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นรูปแจกัน สีแดง  ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรเพศเมียแผ่แบนคล้ายร่ม
                                           
       ผล  ผลเดี่ยวขนาดใหญ่  กลม  รูปไข่ ปลายมนเป็นพูตื้น ๆ สีน้ำตาล  เปลือกหนาและแข็ง  กว้าง 7 - 12 เซนติเมตร ยาว 10 - 16 เซนติเมตร ก้านผลแข็ง  เมื่อแก่แตกออกเป็น 5 พู  ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก                
      เมล็ด   แห้งสีน้ำตาล  แบนบาง  มีปีกบาง ๆ กว้าง 1.0-1.2 เซนติเมตร ยาว 5.0-5.5 เซนติเมตร  ปลิวไปตามลมได้                    
ประโยชน์ : เนื้อไม้ทำเครื่องเรือน  เครื่องดนตรี  และเครื่องใช้อื่น ๆ เปลือกต้นต้มเป็นยาเจริญอาหาร  มีแทนนินมาก  รสฝาด  ใช้เป็นยาสมานแผล  ยาแก้ไข้  เนื้อในฝักเป็นยาระบาย  เนื้อในเมล็ดมีรสขมมาก  ใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่น  ไข้พิษ และปวดศีรษะ  ใบอ่อนและดอกรับประทานได้             

          มะฮอกกานี  เป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้นำเข้าจากต่างประเทศในคราวเสด็จประพาสยุโรป และนำไปปลูกครั้งแรกเมื่อ รศ.129  ที่ถนนราชดำเนิน  ถนนดำรงรักษ์  ถนนราชดำริ  และถนนบริพัตร  จังหวัดเพชรบุรี

กระดังงา


ชื่อ : กระดังงา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canaga odorata (Lam.) Hooker f. & Thomson
ชื่อวงศ์ :  Annonaceae
ชื่อเรียกอื่น : กระดังงาใบใหญ่ (กลาง) สะบันงา สะบันงาต้น (เหนือ)
ลักษณะ :  ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 15-20 เมตร เรือนยอดทรงพุ่มแน่น แตกกิ่งก้านสาขามาก แผ่ออกจากต้นมักลู่ลง ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นสีเทาเกลี้ยงหรือสีเงิน พบรอยแผลใบขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป ส่วนที่ยังอ่อนอยู่มีขนปกคลุม ใบดกหนาทึบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียวอ่อนบาง นิ่ม ออกแบบเรียงสลับในลักษณะห้อยลง รูปขอบขนาน กว้าง 4-9 ซม. ยาว 7-12 ซม. ปลายแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนมนกลมหรือเบี้ยว ขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบเรียบบาง นิ่ม สีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนทั้งสองด้าน ใบแก่มักมีขนมากตามเส้นแขนงใบ เส้นแขนงใบ 5-9 คู่ เป็นร่องส่วนบนของใบ และนูนเด่นชัดด้านล่างของใบ เส้นกลางใบเห็นชัดเจน ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่บนกิ่งเหนือรอยแผลใบ ช่อดอกแยกแขนง ช่อหนึ่งมี 3-6 ดอก เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 4-6 เซนติเมตร ก้านช่อดอกมีขน ก้านดอกยาว 2-4 ซม. ดอกย่อยสีเหลืองอมเขียวหรือสีเหลือง มีกลิ่นหอมมาก กลีบยาวอ่อน มี 6 กลีบ กลีบดอกห้อยลง กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบชั้นนอกรูปแคบยาว ปลายเรียวแหลม ขอบกลีบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย (เป็นคลื่นน้อยกว่ากระดังงาสงขลา) กลีบดอกกว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 5-8.5 ซม. กลีบชั้นในสั้นและแคบกว่าเล็กน้อย โคนกลีบดอกจะซ้อนทแยงอยู่ใต้รังไข่ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาวราว 0.5 ซม. มีขนปกคลุม ปลายกลีบกระดกขึ้น รังไข่จำนวนมาก เกสรตัวผู้มีจำนวนมากเบียดกันเป็นตุ้มแป้นทรงกลมตรงกึ่งกลางดอก ผลเป็นผลกลุ่ม มีจำนวน 4-12 ผล แต่ละผลเป็นรูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. ก้านช่อผลยาว 2-2.5 เซนติเมตร ก้านผลยาว 1.3-2 ซม. ผลมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ เมล็ดรูปไข่แบน สีน้ำตาลอ่อน มี 2-12 เมล็ด ออกดอกออกผลตลอดปี ขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือกิ่งตอน
ประโยชน์ : มีความเชื่อว่า ต้นกระดังงา เป็นต้นไม้มงคลที่จะช่วยเสริมให้ผู้ปลูกเป็นคนมีชื่อเสียงโด่งดัง มีเงินทอง ลาภยศ อีกทั้งยังมีผู้คนนับหน้าถือตา หากจะให้ดียิ่งขึ้นควรเลือกปลูกในทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลกับตัวบ้านและผู้อยู่อาศัยในบ้านด้วย

        นอกจากนี้ส่วนต่าง ๆ ของกระดังงา ยังสามารถนำไปทำประโยชน์ได้ด้วย เช่น เปลือก ใช้นำไปทำเชือก, ใบและเนื้อ ใช้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ, ดอก กลั่นเป็นน้ำหอม หรือเป็นส่วนผสมของยาหอมเพื่อแก้วิงเวียน และนำดอกไปทอดกับน้ำมันมะพร้าวเพื่อทำน้ำมันใส่ผม หรือนำมาลนไฟใช้อบขนมเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมก็ได้

พะยาสัตบรรณ


ชื่อ : พะยาสัตบรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris  (L.) R. Br.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่อเรียกอื่น : ตีนเป็ด หัสบัน สัตบรรน จะบัน บะซา
ลักษณะ เปลือกหนาแต่เปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาลกรีดดูจะมียางสีขาวลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขามากลักษณะเป็นชั้น ๆ เปลือกชั้นในสีน้ำตาล มีน้ำยางสีขาว ใบเป็นกลุ่มบริเวณปลายกิ่งช่อหนึ่งมีใบประมาณ 5-7 ใบ ก้านใบสั้น แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมรูปขอบขนาน หรือรูปมนแกมรูปบรรทัด ปลายใบเป็นติ่งเล็กน้อย ใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีสีขาวนวล ถ้าเด็ดก้านใบจะมียางสีขาว ลักษณะใบยาวรีปลายใบมนโคนใบแหลม ขนาดใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ออกดอกสีเขียวอ่อนเป็นช่อตามปลายกิ่ง ปากท่อของกลีบดอกมีขนยาวปุกปุย ดอกมีกลิ่นฉุนรุนแรง สูดดมเพียงเล็กน้อยจะรู้สึกกลิ่นหอม หากสูดดมมากจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ ช่วงค่ำจะส่งกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่น ๆ ดอกเป็นกลุ่มคล้ายดอกเข็มช่อหนึ่งจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีสีขาวอมเหลือง ปกติจะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมผลเป็นฝักยาว ฝักคู่หรือเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้นๆ กลมเรียวยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตก มีขุยสีขาวคล้ายฝ้ายปลิวไปตามลมได้ในฝักมีเมล็ดเล็กๆ ติดอยู่กับขุยนั้น
ประโยชน์ ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เปลือกต้นพญาสัตบรรณรักษาโรคบิด ลำไส้ติดเชื้อ และมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ในประเทศอินเดียมีการนำส่วนต่างๆ ของต้น พญาสัตบรรณมาใช้เป็นพืชสมุนไพรเช่นใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคมาลาเรียในชื่อ Ayush-64 ซึ่งมีขายตามท้องตลาด นำยางสีขาวและใบรักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ นอกจากนี้ ต้นพญาสัตบรรณยังเป็นแหล่งของสารอัลคาลอยด์ที่สาคัญในบอร์เนียว นำเนื้อไม้ไปทำทุ่นของแหและอวน 

พญาสัตบรรณเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดจากใบสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้สารสกัดจากเปลือกลำต้นสามารถยับยั้งการเจริญของข้าว ข้าวโพด คะน้า ถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมันได้

หูกระจง



ชื่อ : หูกระจง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminate ivorensis A. Chev.
ชื่อวงศ์ :  COMBRETACEAE
ชื่อเรียกอื่น : หูกวางแคระ
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม8-10 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มแผ่เป็นชั้นๆ หนาทึบ แตกกิ่งตั้งฉากกับลำต้น เมื่อต้นโตเต็มที่ปลายกิ่งจะลู่ลง เปลือกต้นสีน้ำตาล มีรอยแตกเป็นร่อง ตามแนวยาว สีน้ำตาลอมเหลืองและมีรอยด่างขาวทั่วทั้งลำต้น มีใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 1 -1.5ซม. ยาว 1.5-3 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบ สอบแคบ เว้า และมีต่อม 1 คู่ ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาและเหนียว สีเขียวเรียบเป็นมัน  ใบอ่อนสีน้ำตาลอมเขียวก้านใบยาวประมาณ 0.4 ซม.  ดอก สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะเป็นแท่ง โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกสมบูรณ์เพศอยู่บริเวณโคนช่อ เกสรเพศผู้ 10 อัน   ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปไข่หรือรูปรีป้อมและแบนเล็กน้อย กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-7 ซม. สีเขียว เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียวมีเนื้อ และชั้นหุ้มเมล็ดค่อนข้างแข็งและเหนียว เมล็ดรูปรี สีน้ำตาลออกดอกติดผลเกือบตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
ประโยชน์ : ต้นหูกระจงเป็นไม้ที่มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม จึงนิยมนำมาปลูกเพื่อตกแต่งสวน หรือใช้ประดับริมถนน ตลอดจนเกาะกลางถนนเนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ร่มเงา ทำให้บริเวณบ้านมีความร่มรื่น ช่วยบังแดดได้ดี นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเรื่องการเสริมบารมีให้คนในบ้านมีแต่ความสุขความเจริญยิ่งขึ้นอีกด้วย



วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โคลงเคลง



ชื่อ:โคลงเคลง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Melastomamalabathricum L. subsp. malabathricum
ชื่อวงศ์ :Melastomataceae 
ชื่อเรียกอื่น  :กะดูดุ (มลายู-ปัตตานี); กาดูโด๊ะ (มลายู-สตูล, ปัตตานี); โคลงเคลง, โคลงเคลงขี้นก, โคลงเคลงขี้หมา (ตราด); ซิซะโพ๊ะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ตะลาเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); เบร์, มะเหร, มังเคร่, มังเร้, สาเร, สำเร (ภาคใต้); มายะ (ชอง-ตราด); อ้า, อ้าหลวง (ภาคเหนือ)
ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูงถึง 1-3 ม. กิ่งเป็นเหลี่ยม ปกคลุมด้วยเกล็ดแบบเรียบหนาแน่น ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 1.7-5 ซม. ยาว 4-14 ซม. ปลายแหลม หรือเรียวแหลม โคนแหลม หรือกลม มีขนแข็งเอนทั้งสอนด้าน แต่เห็นชัดทางด้านล่าง โดยเฉพาะบนเส้นใบ มีเส้นใบออกจากโคน ใบไปจรดปลายใบ 3-5 เส้น ก้านใบยาว 0.5-2 ซม. ดอก สีม่วง ออกเป็นช่อ มี 3-7 ดอก ตามปลายยอดและตามง่ามใบบนๆ ดอกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ พบน้อย ที่มี 4 หรือ 6 กลีบใบประดับบางครั้งใหญ่และเห็นชัด ยาวถึง 20มม. ด้านนอกโดยเฉพาะบนเส้นกลางใบมีเกล็ดแบนราบ สีขาว หรือสีแดงเรื่อ ถ้วยรองดอกยาว 5-9มม. ปกคลุมด้วยเกล็ดแบบเรียบ ยาว 1-3มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมกัน ปลายแยกเป็นพูรูปใบหอก ยาว 5-13มม. กลีบดอกสีม่วง ยาว 25-35(-40) มม. เกสรเพศผู้มี 10 อัน บางครั้งพบ 8 หรือ 12 อัน มีรูปร่าง 2 แบบ เกสรเพศผู้ด้านนอกอับเรณูสีม่วง อับเรณูยาว 7-9(-14) มม. มีแกนอับเรณูยาว 4-8มม. ส่วนอับเรณูด้านในยาว 5-6(-11) มม. สีเหลือง แกนอับเรณูไม่ยาวออกมามากนัก รังไข่ติดแน่นกับฐานดอก ที่ยอดปกคลุมด้วยขนแข็ง มี 5 ช่อง ผล แห้งแตก ยาว 5-12 มม. เมื่อแก่แตกตามขวาง เนื้อนุ่ม สีม่วงดำ เมล็ด เล็ก
การกระจายพันธุ์: มีการกระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค พบตามชายป่าที่ชุ่มด้วยน้ำ ริมลำน้ำ

ประโยชน์ : เป็นยาพื้นบ้าน แก้คอพอก แก้อาเจียนเป็นเลือด และถ่ายเป็นเลือด ราก แก้ร้อนในกระหายน้ำ