วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตะแบก



ชื่อ:ตะแบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Lagerstroemia calyculataKurz
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่อเรียกอื่น  :ลนไห้ (เชียงใหม่), ตะแบกขาวใหญ่ (ปราจีนบุรี), ตะแบกใหญ่ (ราชบุรี,นครราชสีมา), เปลือยดง (นครราชสีมา), ตะแบกหนัง (จันทบุรี), เปลือย (สุโขทัย,พิษณุโลก), ตะแบกแดง (ประจวบคีรีขันธ์), อ้าย (สุราษฎร์ธานี), ป๋วยเปื๋อยเปื๋อยขาว เปื๋อยตุ้ย เปื๋อยค่างเปื๋อยน้ำ เปื๋อยลั้วะเปื๋อยเปลือกหนา (ภาคเหนือ), เปือย (ลานช้าง), ตะแบก ตะแบกใหญ่ ตะแบกหนัง (ภาคกลาง), กะแบก (ไทย), ตะคู้ฮก (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), บองอยาม (มาเลเซีย-ปัตตานี) 
ลักษณะ : ตะแบกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางและใหญ่ลำต้นสูงประมาณ10-25 เมตรโคนต้นเป็นพูเป็นเหลี่ยมยิวเปลือกมีสีเทาปนน้ำตาลอ่อนผิวเปลือกค่อนข้างเรียบมีรอยขรุขระเป็นหลุมตื้นๆ เกิดสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ มีเปลือกใบเป็นใบเดี่ยวออกตามกิ่งก้าน ปลายยอดลักษณะใบมนขอบขนาน เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงเรียบเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อยาว ลักษณะดอกมีกลีบรอบดอกเป็นรูปถ้วยเชื่อมติดกับดอก มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ ริมขอบกลีบจะย่นบาง ดอกมีสีม่วงอ่อน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเมื่อแก่จะแตกเป็นเสี้ยว 6 เสี้ยวภายในผลมีเมล็ดเล็ก ๆ
การกระจายพันธุ์ :ขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณพื้นที่ที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้มีขึ้นอยู่มากใน ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วม และตามท้องนา ทั่ว ๆ ไป
ประโยชน์ :   1. ไม้ตะแบกเป็นไม้ที่มีคุณค่าชนิดหนึ่งของไทย เนื้อไม้มีลักษณะเป็นสีเทาถึงสีน้ำตาลอมเทา เสี้ยนไม้ตรงหรือเกือบตรง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง เป็นมัน แข็ง เหนียว แข็งแรง เลื่อยไสกบ ตบแต่งได้ง่าย ขัดชักเงาได้ดี จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์กันมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการรับน้ำหนักมาก ๆ เช่น รอด ตอ กาน เครื่องบน ไม้ปาร์เกต์ ใช้ในงานก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เรือ แพ เกวียน แจว เครื่องมือกสิกรรม ฯลฯ ส่วนไม้ตะแบกชนิดลายจะนิยมนำมาใช้ทำเครื่องเรือน ด้ามหอก ด้ามมีด พานท้ายปืน คิวบิลเลียด ด้ามปากกา ด้ามร่ม ไม้ถือ กรอบรูปภาพ สันแปรง ไม้บุผนังที่ส่วยงาม มีลักษณะเหมือนไม้เสลา สามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ดี
                        2. นอกจากนี้เนื้อไม้ยังสามารถนำมาใช้ทำเชื้อเพลิงได้เป็นอย่างดี คือ ถ้านำมาถ่ายเป็นถ่านและฟืนจะให้ค่าความร้อนถึง 7,524 และ 4,556 แคลอรี่ต่อกรัม (คำนวณจากตัวอย่างแห้ง)

                        3. มีการนำต้นตะแบกมาปลูกเป็นไม้ประดับในรูปสวนป่าน้อย ปัจจุบันนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับทั่วกันอย่างแพร่หลาย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น