วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โคลงเคลง



ชื่อ:โคลงเคลง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Melastomamalabathricum L. subsp. malabathricum
ชื่อวงศ์ :Melastomataceae 
ชื่อเรียกอื่น  :กะดูดุ (มลายู-ปัตตานี); กาดูโด๊ะ (มลายู-สตูล, ปัตตานี); โคลงเคลง, โคลงเคลงขี้นก, โคลงเคลงขี้หมา (ตราด); ซิซะโพ๊ะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); ตะลาเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); เบร์, มะเหร, มังเคร่, มังเร้, สาเร, สำเร (ภาคใต้); มายะ (ชอง-ตราด); อ้า, อ้าหลวง (ภาคเหนือ)
ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูงถึง 1-3 ม. กิ่งเป็นเหลี่ยม ปกคลุมด้วยเกล็ดแบบเรียบหนาแน่น ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 1.7-5 ซม. ยาว 4-14 ซม. ปลายแหลม หรือเรียวแหลม โคนแหลม หรือกลม มีขนแข็งเอนทั้งสอนด้าน แต่เห็นชัดทางด้านล่าง โดยเฉพาะบนเส้นใบ มีเส้นใบออกจากโคน ใบไปจรดปลายใบ 3-5 เส้น ก้านใบยาว 0.5-2 ซม. ดอก สีม่วง ออกเป็นช่อ มี 3-7 ดอก ตามปลายยอดและตามง่ามใบบนๆ ดอกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ พบน้อย ที่มี 4 หรือ 6 กลีบใบประดับบางครั้งใหญ่และเห็นชัด ยาวถึง 20มม. ด้านนอกโดยเฉพาะบนเส้นกลางใบมีเกล็ดแบนราบ สีขาว หรือสีแดงเรื่อ ถ้วยรองดอกยาว 5-9มม. ปกคลุมด้วยเกล็ดแบบเรียบ ยาว 1-3มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมกัน ปลายแยกเป็นพูรูปใบหอก ยาว 5-13มม. กลีบดอกสีม่วง ยาว 25-35(-40) มม. เกสรเพศผู้มี 10 อัน บางครั้งพบ 8 หรือ 12 อัน มีรูปร่าง 2 แบบ เกสรเพศผู้ด้านนอกอับเรณูสีม่วง อับเรณูยาว 7-9(-14) มม. มีแกนอับเรณูยาว 4-8มม. ส่วนอับเรณูด้านในยาว 5-6(-11) มม. สีเหลือง แกนอับเรณูไม่ยาวออกมามากนัก รังไข่ติดแน่นกับฐานดอก ที่ยอดปกคลุมด้วยขนแข็ง มี 5 ช่อง ผล แห้งแตก ยาว 5-12 มม. เมื่อแก่แตกตามขวาง เนื้อนุ่ม สีม่วงดำ เมล็ด เล็ก
การกระจายพันธุ์: มีการกระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค พบตามชายป่าที่ชุ่มด้วยน้ำ ริมลำน้ำ

ประโยชน์ : เป็นยาพื้นบ้าน แก้คอพอก แก้อาเจียนเป็นเลือด และถ่ายเป็นเลือด ราก แก้ร้อนในกระหายน้ำ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น